วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สูตร สปาผิวที่บ้าน

 ขัดผิวแบบธรรมชาติ ค่ะ 


สูตรขัดผิววันนี้   มะละกอ นมสด

1.มะละกอสุก 
2.นมสด (เอาที่เป็นขวดนะรสจืดจ้าไม่ต้องพร่องมันเนยนะ)
3.น้ำมะขามเปียก 
4.เกลือบ่นละเอียดเลยนะ หรือเกลือสปาก็ได้ค่ะ 

นำทั้งหมดมารวมกัน จะบดจะปั่น จะ ขย่ำก็ได้จ้าแค่ให้มันเข้ากันเป็นเนื้อเดียว 
ก่อนอาบน้ำ เอามาพอกทั้งตัว ทิ้งไว้ ซัก 10 นาทีก่อนนะ พอใกล้ๆแห้งค่อยนวดเบาๆ ซักพักแล้วล้างออกตามปกติ ไม่ต้อง ฟองสบู่ตามก็ได้นะจ๊ะ ตัวเราสะอาดแล้ว แต่ถ้าฟอก ก็เอาแบบ สูตรอ่อนๆหน่อยน๊า หลังจากนั้น ก็ตามด้วยน้ำมันมะพร้าวเลยจ้า ทั้งที่ตัวเปียกๆนั้นแหละ ล๊อกความชุ่มชื่นให้ผิวเนียนนุ่มรับลอง ผิวสวยแน่นอน จ้า 
ปล.ถ้าออกนอกบ้าน อย่าลืมทาครีมกันแดดด้วยนะค่ะ ช่วงเวลาที่ดีในการขัดคือตอนเย็นค่ะ 

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ธาตุเจ้าเรือน

วันนี้เรามีความรู้เรื่องธาตุเจ้าเรือนมาฝากนะค่ะ เพื่อนำไปปรับให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของเราได้คะ

ความรู้เกี่ยวกับธาตุเจ้าเรือน

1. ธาตุเจ้าเรือน คืออะไร
     ในทฤษฎีการแพทย์แผนไทย เชื่อว่า การเกิดชีวิตใหม่จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีพ่อมีแม่ที่มีลักษณะของหญิง-ชาย ครบถ้วน หมายถึง พ่อมีลักษณะของชายครบ และแม่มีลักษณะของหญิงครบ โดยให้ความหมายของชีวิตไว้ว่า ชีวิตคือขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
          
รูป หมายถึง รูปร่าง ร่างกาย หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้ว่า รูปมีมหาภูตรูป 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และรูปที่เกิดจากมหาภูตรูป เรียกว่าอุปทายรูป ได้แก่ อากาศ ประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดรูป รส กลิ่น เสียง เป็นอาภรณ์ 4
          
เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งเกิดจากประสาททั้ง 5 เป็นต้น
          
สัญญา ได้แก่ ความจำต่างๆ การกำหนดรู้อาการ จำได้หมายรู้
          
สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งของจิต ความคิดที่ผูกเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าสังขารคือร่างกาย เช่น มักพูดว่า "คนแก่ไม่เจียมสังขาร" หมายถึง ทำอะไรเกินกว่าร่างกายซึ่งชราจะรับได้ แท้จริงสังขารเป็นความนึกคิดก่อ หรือผูกเป็นเรื่องราวนั่นเอง
         
วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งของอารมณ์ เช่น วิญญาณนักต่อสู้ หมายถึง เป็นผู้มีอารมณ์บากบั่นตั้งมั่น ต้องสู้สุดใจ ผู้มีวิญญาณเป็นนักประชาธิปไตย หมายถึง การมีอารมณ์ลึกซึ้ง ชัดแจ้ง จะทำอะไรก็อยู่ในอารมณ์ของนักประชาธิปไตย มีใจตั้งมั่นในสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น คนทั่วไปคิดว่าวิญญาณคือผี เชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ววิญญาณออกจากร่างไปเป็นผี แท้จริงแล้วเมื่อตายไปแล้วก็หมดความรู้สึก ไม่มีอารมณ์อีกแล้วนั่นเอง 
         จะเห็นได้ว่าชีวิตคือขันธ์ 5 ซึ่งคือร่างกายและจิตใจนั่นเอง มนุษย์ที่เกิดมาต่างก็มีชีวิตแตกต่างกันไป มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน มีความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึก ความรู้แจ้งทางอารมณ์ หรือที่เรียกว่าวิญญาณที่แตกต่างกันไป ทางการแพทย์แผนปัจจุบันเชื่อว่า การที่มีความแตกต่างและความเหมือนกัน ถูกกำหนดโดยสารพันธุกรรมที่เรียกว่า "ดีเอ็นเอ" เป็นรหัสของชีวิตที่มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดจากมารดาและบิดา เป็นลักษณะทั่วๆ ไปของมนุษย์ 
         ทางการแพทย์แผนไทยมีความเชื่อในเรื่องธรรมชาติว่า การเกิดรูปครั้งแรกในครรภ์มารดามีขนาดเล็กมาก ขนาดเท่ากับหยดน้ำมันงาที่ติดอยู่ปลายขนจามรี หลังจากถูกสะบัด ถึง 7 ครั้ง และด้วยอิทธิพลของธาตุไฟก่อน จึงเกิดธาตุอื่นตามมาจนครบธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ แล้วจึงเกิดเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจนครบขันธ์ 5 เมื่อครรภ์ครบ 5 เดือน นั่นคือชีวิตได้เกิดแล้ว และด้วยอิทธิพลธรรมชาติ ได้แก่ ความร้อน ความเย็นของภูมิอากาศตามฤดูกาล ได้ทำให้ธาตุทั้ง 4 ของแต่ละคนแตกต่างกันไปและเริ่มมีอิทธิพลแล้วในครรภ์มารดา ดังพระคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวไว้ว่า เมื่อตั้งครรภ์ในฤดูอันใด ธาตุอันใด ให้เอาธาตุของฤดูนั้นเป็นที่ตั้งแห่งธาตุกำเนิดของกุมารกุมารีนั้นๆ เช่น
          -
ตั้งครรภ์ในเดือน 5, 6, 7 เป็นลักษณะแห่งไฟ
          -
ตั้งครรภ์ในเดือน 8, 9, 10 เป็นลักษณะแห่งลม
          -
ตั้งครรภ์ในเดือน 11, 12, 1 เป็นลักษณะแห่งน้ำ
          -
ตั้งครรภ์ในเดือน 2, 3, 4 เป็นลักษณะแห่งดิน
         นั่นคือธาตุเจ้าเรือนนั่นเอง แต่คนส่วนใหญ่มักจำได้เพียงแต่วันเกิด คำว่าตั้งครรภ์ในเดือนใดหมายถึง การเริ่มมีครรภ์ หรือมีการปฏิสนธิ ดังนั้นจากข้อสังเกตของคนโบราณดังกล่าว ถ้านำอายุการตั้งครรภ์มาพิจารณาแล้วสามารถประมาณการได้ว่า
          -
ผู้ที่เกิดเดือน 5, 6, 7 จะมีธาตุลมเป็นเจ้าเรือน
          -
ผู้ที่เกิดเดือน 8, 9, 10 จะมีธาตุน้ำเป็นเจ้าเรือน
          -
ผู้ที่เกิดเดือน 11, 12, 1 จะมีธาตุดินเป็นเจ้าเรือน
          -
ผู้ที่เกิดเดือน 2, 3, 4 จะมีธาตุไฟเป็นเจ้าเรือน
     การแบ่งแบบนี้เป็นการแบ่งอย่างหยาบ คือ แบ่งบุคลิกหรือลักษณะจำเพาะของคนออกเป็น 4 แบบ แต่ละแบบจะมีจุดอ่อน หรือลักษณะของธาตุเสียสมดุลแตกต่างกันตามธาตุเจ้าเรือนนั้นๆ
2. ลักษณะของธาตุเจ้าเรือน เป็นอย่างไร
     องค์ประกอบของธาตุที่รวมกันอยู่อย่างปกตินั้น จะมีธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งเด่น หรือมากกว่าอย่างหนึ่ง เรียกว่า เจ้าเรือน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยแต่ละธาตุหลักทั้ง 4 จะมีลักษณะที่แสดงออกเป็นเจ้าเรือน ดังนี้
          
ธาตุดินเจ้าเรือน  จะมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูกใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน อวัยวะสมบูรณ์
          
ธาตุน้ำเจ้าเรือน  จะมีรูปร่างสมบูรณ์ อวัยวะสมบูรณ์ สมส่วน ผิวพรรณสดใสเต่งตึง ตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำงาม กินช้า ทำอะไรชักช้า ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง มีลูกดกหรือมีความรู้สึกทางเพศดี แต่มักเฉื่อยและค่อนข้างเกียจคร้าน
          
ธาตุไฟเจ้าเรือน  มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน หนังย่น ผม ขนหนวดค่อนข้างนิ่ม ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง
          
ธาตุลมเจ้าเรือน  จะมีผิวหนังหยาบแห้ง รูปร่างโปร่ง ผอม ผมบาง ข้อกระดูกลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่คอยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ชัด มีลูกไม่ดก คือความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี
3. สถานที่ ถิ่นที่อยู่อาศัยแยกตามธาตุเจ้าเรือน
     ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งแวดล้อม เรียกว่า "ประเทศสมุฏฐาน" ย่อมมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพ ได้แก่
          
ประเทศร้อน  สถานที่ที่เป็นภูเขาสูง เนินผา มักเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ เช่น คนภาคเหนือ จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับไข้ต่างๆ
          
ประเทศเย็น  สถานที่ที่เป็นน้ำฝน โคลนตม มีฝนตกชุก มักเจ็บป่วยด้วยธาตุลม เช่น คนภาคกลาง จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับลมต่างๆ
          
ประเทศอุ่น  สถานที่ที่เป็นน้ำฝนกรวดทราย เป็นที่เก็บน้ำไม่อยู่ มักเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ เช่น คนภาคอีสาน จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับนิ่ว
          
ประเทศหนาว  สถานที่ที่เป็นน้ำเค็ม มีโคลนตมชื้นแฉะ ได้แก่ ชายทะเล มักเจ็บป่วยด้วยธาตุดิน เช่น ภาคใต้ จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับฝี
     นำอาการที่ได้จากการบอกเล่า และตรวจพบมาประมวล จะสามารถบอกถึงสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยยึดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับตัวสุขภาพ หรือตัวควบคุมธาตุทั้งสี่ ได้แก่
          ธาตุดิน  มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
               -
หทัยวัตถุ มีที่ตั้งที่หัวใจ ควบคุมความสมบูรณ์ของหัวใจ เช่น ลักษณะ ขนาด การทำงาน การเต้น ความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจ บางตำรากล่าวว่าหทัยวัตถุเป็นที่ตั้งของจิต
               -
อุทริยะ หมายถึง อาหารใหม่ คืออาหารที่รับประทานเข้าไปใหม่ๆ นั่นเอง การซักประวัติการกินอาหารก่อนป่วย มีความจำเป็นมาก เพราะอาหาร คือธาตุภายนอกที่เรานำเข้าไปบำรุง หรือปรับธาตุภายใน เรื่องอาหารจึงสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนใด โรคทางแผนโบราณจึงมีเรื่องเกี่ยวกับการกินที่เรียกว่า "กินผิด" คือกินไม่ถูกกับธาตุจะเจ็บป่วย กินไม่ถูกกับโรคทำให้อาการแย่ลง ดังนั้น การแพทย์แผนไทยใช้วิธีการกินสมุนไพร อาหารสมุนไพร มาแก้ไขการเสียสมดุลนี้ เป็นการลองผิดลองถูกมายาวนาน จนสรุปเป็นหลักการและเหตุผล
               -
กรีสัง หมายถึง อาหารเก่า คือ กากอาหารในลำไส้ใหญ่ที่จะออกมาเป็นอุจจาระนั่นเอง ลักษณะของอุจจาระเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพ อุจจาระหยาบ ละเอียด ก้อนแข็งหรือเหลว กลิ่นอุจจาระเป็นเช่นไร เช่น กลิ่นเหมือนปลาเน่าธาตุน้ำเป็นเหตุ กลิ่นเหมือนหญ้าเน่าธาตุไฟเป็นเหตุ กลิ่นเหมือนข้าวบูดธาตุลมเป็นเหตุ กลิ่นเหมือนศพเน่าธาตุดินเป็นเหตุ เป็นต้น โบราณว่าไว้สุขภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับกรีสะ (อุจจาระหรืออาหารเก่า) เป็นตัวควบคุม
          ธาตุน้ำ  มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
              
 - ศอเสมหะ ควบคุมน้ำบริเวณคอขึ้นไปเกี่ยวกับเสมหะ น้ำมูกมีหรือไม่อย่างไร มีมากเวลาใด อาจหมายถึงการทำงานของต่อมต่างๆ ที่ผลิตน้ำเมือก น้ำมูกบริเวณดังกล่าว
               -
อุระเสมหะ ควบคุมน้ำบริเวณอกเหนือกลาง ตัวจากคอมาถึงบริเวณลิ้นปี่ เหนือสะดือ การซักถามจะต้องถามถึงการไอ เสมหะเป็นอย่างไร การหอบ การอาเจียน น้ำที่ออกมาเป็นอย่างไร การปวดท้องเกี่ยวกับน้ำย่อยในกระเพาะอาจจะหมายถึงการทำงานของต่อมน้ำมูก เมือกในปอด หลอดลม น้ำในกระเพาะอาหาร น้ำดี น้ำย่อยในลำไส้เล็ก
               -
คูถเสมหะ ควบคุมน้ำช่วงล่างจากสะดือลงไป อาจเป็นน้ำมูกเมือก น้ำในลำไส้ น้ำในอุจจาระ น้ำปัสสาวะ น้ำในมดลูก ช่องคลอด (ถ้าเป็นหญิง) และน้ำอสุจิ (ถ้าเป็นชาย) จึงต้องซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น การถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ลักษณะเหลว หรือแข็ง มีน้ำมากน้อยเพียงใด ผิดปกติอย่างไร
          ธาตุลม  มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
               -
หทัยวาตะ  ลมที่ควบคุมอารมณ์ จิตใจ การเต้นของหัวใจ ความหวั่นไหว ความกังวล
               -
สัตถกะวาตะ ลมที่คมเหมือนอาวุธ หมายถึง เมื่อเกิดอาการจะมีอาการฉับพลัน เจ็บปวดลึกๆ เหมือนดังอาวุธเสียบแทง จากลักษณะดังกล่าวอาการคล้ายกับภาวะขาดเลือด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรืออวัยวะใดๆ ขาดเลือดจะมีอาการเจ็บปวดรุนแรง
               -
สุมนาวาตะ ลมที่ควบคุมพลังที่อยู่เส้นกลางลำตัวตามแนวดิ่ง ในตำราการนวดไทยเส้นสุมนาถูกจัดเป็นเส้นสำคัญในเส้นสิบ เส้นนี้จะวิ่งกลางลำตัวจรดปลายลิ้น จึงน่าจะเป็นตัวควบคุมระบบประสาท การไหลเวียนโลหิต สมอง ไขสันหลัง ระบบอัตโนมัติต่างๆ การซักถามอาการควรถามเกี่ยวกับการทำงานของแขนขา การปวดเจ็บหลัง การชัก การกระตุก ตำราโบราณกล่าวว่าอาการลิ้นกระด้างคางแข็งเกิดจากสุมนา แสดงว่าน่าจะเกี่ยวกับสมอง ประสาท
          ธาตุไฟ มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
               -
พัทธปิตตะ คือดีในฝัก บางท่านอาจสับสนว่าน้ำดีคือธาตุน้ำ เหตุใดจึงจัดเป็นไฟ ผู้เขียนเข้าใจว่าพัทธปิตตะในที่นี้ คือการควบคุมการทำงานของน้ำดี และการย่อยสลายจากการทำงานของน้ำดี ส่วนน้ำดีจัดเป็นธาตุน้ำ อาการบ่งบอกการทำงานที่ผิดปกติไป จึงน่าจะหมายถึงการปวดท้อง น้ำดีอุดตัน ภาวะการผลิตน้ำดีของตับผิดปกติ ตับอักเสบ เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เกิดน้ำดีอักเสบเป็นนิ่ว เป็นต้น เป็นเรื่องที่ควบคุมการทำงานของธาตุน้ำเป็นอาการบ่งบอกถึงการทำงานที่ผิดปกติไป จึงน่าจะหมายถึงการปวดท้อง น้ำดีอุดตัน เป็นเรื่องที่ควบคุมการทำงานของน้ำดีในตับ และถุงน้ำดีที่เรียกว่าในฝักนั่นเอง
               -
อพัทธะปิตตะ ดีนอกฝัก หมายถึง การทำงานของน้ำดีในลำไส้ การย่อยอาหาร อาการคือจุกเสียด อืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ดีนอกฝักพิการ จะทำให้เหลืองทั้งตัว ดีในฝักพิการจะมีอาการคุ้มคลั่งเหมือนผีเข้า ถ่ายเป็นสีเขียว
               -
กำเดา องค์แห่งความร้อน เป็นตัวควบคุมความร้อนในร่างกาย น่าจะหมายถึงศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายนั่นเอง การตรวจสามารถดูที่อาการไข้ว่าตัวร้อนจัดหรือไม่เพียงใด
5. อาหารประจำธาตุเจ้าเรือน
          
ธาตุดิน ควรรับประทานอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม ได้แก่ มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง เผือก ถั่วต่างๆ เงาะ น้ำนม น้ำอ้อย เกลือ ฯลฯ
          
ธาตุน้ำ ควรรับประทานอาหารรสเปรี้ยว รสขม ได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะระ สะเดา ฯลฯ
          
ธาตุลม ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะเพรา ฯลฯ
          
ธาตุไฟ ควรรับประทานอาหารรสขม เย็น จืด ได้แก่ ผักบุ้ง ตำลึง แตงโม บัวบก ขี้เหล็ก ฯลฯ


ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทยสาขาพัทยา

สวัสดีค่ะยินดีทุกท่านเข้าสู่ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรไทยสาขาพัทยา